ก่อนที่จะเรียนรู้เรื่องวัตถุที่ใช้ผลิตท่ออุปกรณ์ท่อ ขอให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาและรายละเอียดของเหล็กชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.แร่เหล็ก (Iron Ore)

แร่เหล็กเกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยทั่วไปจะไม่พบแร่เหล็กบริสุทธิ์ในธรรมชาติ แต่จะพบในรูปของสารประกอบ เช่น อยู่ในรูปของออกไซด์ ได้แก่ แร่ฮีมาไทต์ (Hematite) มีสูตรทางเคมีว่า Fe2 O3 และแร่แมกนีไทต์ (Magnetite) มีสูตรทางเคมีว่า Fe3O4 แร่เหล่านี้จะถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการถลุงเป็นโลหะเหล็กต่อไป

2.โลหะเหล็ก (Cast Iron)

โลหะเหล็กได้จากการถลุงแร่เหล็กด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้

  • การถลุงแร่เหล็กด้วยเตาพ่นลม (blast furnace) โลหะเหล็กที่ได้จากกระบวนการนี้เรียกว่า เหล็กถลุง หรือเหล็กดิบ (pig iron)
  • โดยวิธีลดออกซิเจนโดยตรง (direct reduction process) โลหะเหล็กที่ได้จากกระบวนการนี้เรียกว่า เหล็กพรุน (sponge iron)

3.เหล็กหล่อ

เหล็กหล่อเป็นท่อเหล็กที่มีส่วนผสมของคาร์บอนในเนื้อเหล็กเกินกว่า 2.0 % โดยน้ำหนักเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเหล็กกล้า (Steel) เหล็กหล่อจะมีข้อด้อยกว่าเหล็กกล้าในแง่ของความแข็งแรง,ความเหนียว และความยืดหยุ่น แต่จะมีข้อได้เปรียบในงานหล่อ กล่าวคือ ในสภาวะหลอมละลาย น้ำเหล็กของเหล็กหล่อจะไหลเข้าแบบหล่อได้ดีกว่าน้ำเหล็กของเหล็กกล้า ทำให้เหล็กหล่อสามารถที่จะถูกหล่อเป็นชิ้นงานที่รูปร่างซับซ้อนได้ดี

เหล็กหล่อที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมมีดังนี้

  • เหล็กหล่อขาว (White Cast Iron) มีคาร์บอนอยู่ในเนื้อเหล็กในรูปของคาร์ไบด์ทำให้มีเม็ดเกรนสีน้ำเงิน คาร์ไบด์นี้เองที่ส่งผลให้เหล็กมีความแข็ง, เปราะ และปาดผิวยากมาก ผิวของเหล็กหล่อขาวทนต่อการเสียดสีและต้านทานการสึกหรอได้ดี
  • เหล็กหล่อเทา (Gray Cast Iron) มีคาร์บอนอยู่ในเนื้อเหล็กในรูปของแกรไฟต์ ทำให้มีเม็ดเกรนสีเทา มีความแข็งน้อยกว่าเหล็กหล่อขาว กลึงปากได้ง่าย
  • เหล็กหล่อ (Ductile Cast Iron) มีคาร์บอนอยู่ในเนื้อในรูปของแกรไฟต์ก้อนกลม บางครั้งจึงถูกเรียกว่า เหล็กหล่อแกรไฟต์ก้อนกลม มีคุณสมบัติคล้ายเหล็กหล่อเทา แต่จะมีคุณสมบัติทางกลที่ดีกว่า
  • เหล็กหล่ออบเหนียว (Malleable Cast Iron) ได้จากการนำเอาเหล็กหล่อขาวมาผ่านขบวนการทางความร้อน (Heat Treatment) เพื่อเปลี่ยนคาร์บอนที่อยู่ในรูปของคาร์บอนไบด์ให้กลาเป็นแบบแกรไฟต์ ทำให้เหล็กหล่ออบเหนียวมีความอ่อนตัว เพราะไม่มีคาร์บอนที่อยู่ในรูปของคาร์บอนไบด์อีกต่อไป

4.เหล็กกล้า (Steel)

เหล็กกล้าคาร์บอนเป็นเหล็กที่มีคาร์บอนในเนื้ออยู่ไม่เกิน 2.0% โดยน้ำหนักการที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะช่วยให้ความสามารถในการขึ้นรูป (Forming ability) ดีขึ้น จึงสามารถนำไปใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างหลากหลาย มีความแข็งแรง ความเหนียว และความยืดหยุ่นสูง ทนต่อแรงกระแทกได้ดี

นำไปปาดผิวหน้าเครื่องจักรได้ดี เหล็กกล้าจึงเป็นเหล็กที่ใช้มากที่สุด

เหล็กกล้าที่สำคัญในงานอุตสาหกรรมมีดังนี้

เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) มีคุณสมบัติเด่นคือ สามารถชุบเพิ่มความแข็ง (hardness)หรือเปลี่ยนคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ ได้ เหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะเพิ่มหรือลดความแข็งได้ไม่ดีเท่ากับเหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอนสูง เหล็กกล้าคาร์บอนแบ่งออกตามปริมาณคาร์บอนในเนื้อเหล็กได้       3 ชนิด คือ

  1. เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low carbon steel) มีคาร์บอนผสมอยู่ในเนื้อเหล็กไม่เกิน 0.25%
  2. เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (medium carbon steel) มีคาร์บอนผสมในเนื้อเหล็กระหว่าง 0.25 – 0.50%
  3. เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (high carbon steel) มีคาร์บอนผสมในเนื้อเหล็ก 0.50% ขึ้นไป

เหล็กกล้าที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดครบทั้งสองประการต่อไปนี้ ถือว่าเป็นเหล็กกล้าคาร์บอน

  1. จะต้องไม่มีการกำหนดปริมาณต่ำสุดของอะลูมินัม (Aluminum) โบรอน (Boron) โครเมียม(Chromium) โคบอลด์ (Cobalt) โคลัมบียม (Columbium) หรือไนโอเบียม (Niobium) โมลิบดินัม (Molybdenum) นิกเกิล (Nickel) ไททาเนียม (Titanium) ทังสเตน (Tungsten) วานาเดียม (Vanadium)  หรือไซโครเนียม (Zirconium)
  2. ปริมาณของธาตุทั้ง 3 ธาตุต่อไปนี้ จะต้องไม่เกินค่าที่กำหนดไว้

แมงกานีส (manganese)              ไม่เกิน 1.65 %

ซิลิกอน (Silicon)                         ไม่เกิน 0.60%

ทองแดง (Copper)                        ไม่เกิน 0.60%

ถ้าเหล็กกล้าใดมีคุณสมบัติผิดไปจากข้อกำหนดที่กล่าวข้างต้นแม้เพียงประเด็นเดียวถือว่าเหล็กกล้านั้นเป็นเหล็กกล้าผสม

เหล็กกล้าผสม (Alloy Steel) บ้างก็ถูกเรียกว่าเหล็กกล้าประสมหรือเหล็กกล้าเจือ เป็นเหล็กกล้าที่การผสมธาตุอื่นนอกเหนือจากคาร์บอน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของเหล็กทั้งในเชิงกายภาพและทางเคมี ให้มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปจากเหล็กกล้าคาร์บอน เช่น คงความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง ทนต่อการเสียดสี หรือทนต่อการกัดกร่อน เหล็กกล้าผสมแบ่งตามปริมาณธาตุที่ผสมในเนื้อเหล็กได้ 2 ชนิดคือ

  1. เหล็กกล้าผสมต่ำ (Low alloy steel) มีธาตุอื่นผสมอยู่ไม่เกิน 10%
  2. เหล็กล้าผสมสูง (High alloy steel)  มีธาตุอื่นผสมอยู่ไม่เกิน 10%

5.เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel)

ถึงแม้ว่าเหล็กกล้าไร้สนิมจะถือว่าเป็นเหล็กกล้าผสมชนิดหนึ่ง แต่ด้วยความสำคัญตลอดจนถึงบทบาทมากในการใช้งาน ด้งนั้นจึงขอแยกหัวข้อของเหล็กกล้าไร้สนิมของมาจากหัวข้อเหล็กกล้าผสม

เหล็กกล้าไร้สนิม หมายถึงเหล็กกล้าผสมโครเมียมอย่างน้อย 10.5%~ ทำให้มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อน โดยเหล็กกล้าไร้สนิมจะสร้างฟิล์มของโครเมียมออกไซด์ที่บางและแน่นที่ผิวเหล็กกล้า ซึ่งจะปกป้องเหล็กกล้าจากบรรยายกาศภายนอก เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างจุลภาคได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

  1. เหล็กล้าไร้สนิมเฟอร์ริติก (Ferritic Stainless Steel)ที่ใช้กันมากจะผสมโครเมียม(Cr) ประมาณ12% หรือ 17% และนิเกิลน้อยมาก (ติดมากับวัตถุ) เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มนี้จะมีโครงสร้างจุลภาคเป็นเฟอร์ไรต์ และมีคุณสมบัติที่แม่เหล็กสามารถดูดติดได้
  2. เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติก (Austenitic Stainless Steel) ที่ใช้กันมากจะผสมโครเมียมประมาณ 17% และนิเกิลประมาณ 19% โดยนิเกิลจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน และทำให้โครงสร้างจุลภาคเป็นออสเตนไนต์ เหล้กกลุ่มออสเตนนิติกนี้จะทนทานต่อการกัดกร่อนกว่าเหล็กกลุ่มเฟอร์ริติก
  3. เหล็กกล้าไร้สนิมดูเพล็กซ์ (Duplex Stainless Steel) จะมีโครงสร้าผสมระหว่างออสเตนไนต์และเฟอร์ไรต์ มีโครเมียมผสมประมาณ 21 – 28% และนิเกิลประมาณ 3-7.5%
  4. เหล็กกล้าไร้สนิมมาร์เทนซิติก (Martensitic Stainless Steel) จะพผสมโครเมียมประมาณ 11.5 – 18% เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มมีคาร์บอนพอเหมาะและสามารถชุบแข็งได้
  5. เหล็กกล้าไร้สนิมอบชุบแข็งด้วยการตกผลึก (PH ; Precipitation – Harden able  Stainless Steel)มีโครเมียมผสมประมาณ 15 – 18 % และนิเกิลอยู่ประมาณ 3- 8% เหล็กกล้ากลุ่มนี้สามารถทำการชุบแข็งได้