ท่อสแตนเลส  สแตนเลส  ท่อสแตนเลสเงา  stainless, stainless steel pipe

stainless steel fitting, stainless, fitting, อุปกรณ์สแตนเลส, ข้อต่อสแตนเลส, ข้องอสแตนเลส, สามทางสแตนเลส, หน้าแปลนสแตนเลส

ท่อสแตนเลส  สแตนเลส  ท่อสแตนเลสเงา  stainless, stainless steel pipe

ในสมัยเมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว สแตนเลสเกรดที่มีขายกันอยู่โดยทั่วไปในตลาดจะมีอยู่เพียงไม่กี่เกรดเท่านั้น คือ เกรด 304, 316L, และ 430 ส่วนเกรด 430 นั้น ไม่ค่อยมีจำหน่ายในตลาดทั่วไปนัก มีการใช้สำหรับเครื่องครัวเป็นหลัก สำหรับวิธีการตรวจสอบว่าสแตนเลสเป็นเกรดใดนั้น ก็จะใช้แม่เหล้กตรวจดูว่า ดูดติดหรือใ หากดูดไม่ติด ก้จะถือว่าเป็นเกรด304 ขึ้นไป มีราคาสูง หากแม่เหล็กดูดติด ถือว่าเป็นสแตนเลสเกรดไม่ดี หรือสแตนเลสปลอมไปเลยก็มี(ตามความเข้าใจของคนทั่วไปในขณะนั้น

ต่อมาเมื่อ Ni (นิเกิล) ซึ่งเป็นธาตุประกอบที่สำคัญในสแตนเลสเกรด 304 ที่มีราคาสูงมาก จึงมีผู้นำเข้าสแตนเลส เกรดที่รองลงมาเช่น เกรด 201, 202 ที่มีส่วนผสมของนิเกิลน้อยลงเข้ามาจำหน่ายในตลาดในประเทศไทย ซึ่งสแตนเลสเกรดเหล่านี้ แม่เหล้ดดูดไม่ติดเช่นเดี่ยวกันกับเกรด 304(แต่มีความต้านทานการเกิดสนิม และคุณสมบัติอื่นๆเป็นรองเกรด 304) โดยไม่ระบุเกรดของสแตนเลสเหล่านี้ให้ลูกค้าทราบ ทำให้ตลาดเกิดความสับสน จนทำให้คนส่วนหนึ่งไม่กล้าใช้สแตนเลสคุณภาพเป็นรองเหล่านี้ ทั้งๆที่จ่ายเงินซื้อในราคาแพง

ต่อมาทาง สมาคมพัฒนาสแตนเลสไทย(TSSDA) ได้มีความพยายามผลิตน้ำยาเคมีขึ้นมาชนิดหนึ่ง เพื่อใช้ในการทดสอบสแตนเลสเกรด 201 และ 202 ดดยทดอบค่าของธาตุ Mn (แมงกานีส) ที่ผสมในเกรด 201 , 202 แต่ความน่าเชื่อถือในการทดสอบก็มีเพียงประมาณ 60 % เท่านั้น จึงยังคงเป็นที่ถกเถียง และไม่ยอมรับผลการทดสอบนี้กับผู้ที่ค้าขายแสตนเลส

วิธีการที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในวงการคือ การทดสอบเกรดด้วยเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ (Spectrometer) ซึ่งจะเป็นการทดสอบหาค่าต่างๆของธาตุที่เป็นส่วนผสมในโลหะนั้นๆ แล้วมาเปรียบเทียบค่าของธาตุต่างๆในตารางของโลหะนั้นๆว่าควรจะเป็นโลหะใด หรือเป็นสแตนเลสเกรดใดซึ่งในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา มีการนำ เครื่องสเปกโตรมือถือ (XRF) เข้ามาขายในตลาด แต่ก็มีราคาที่สูงมากเช่นกัน จึงมีผู้ที่ซื้อไม่มากนัก
จากการที่ธาตุ Ni (นิเกิล) มีราคาสูง มีผู้นำเกรด 201 และ 202 เข้ามาทำตลาด ทาง NTK ผู้ผลิตสแตนเลสจากประเทศญี่ปุ่น ก็ได้พัฒนาเกรดใหม่ของตนเองขึ้นมานั่นก็คือ เกรด D – 7

จากการทดสอบทาง NTK โดยเอกสารต่างๆ ออกมาประกอบ ยืนยันว่าสแตนเลส NTK D-7 นี้มีความต้านทานการเกิดสนิมที่เทียบเท่ากับสแตนเลสเกรด 304 ทั้งนี้โดยใช้ค่า PREN**ในการเปรียบเทียบ ซึ่งก็สามารถทำตลอดไปได้ดีในระดับหนึ่ง นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ทางประเทศจีนก็ได้มีการผลิตเกรด D-7 นี้ออกมาเช่นกัน โดยมีธาตุต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมในสแตนเลสแบบเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันกับสแตนเลส NTK D-7

โดยสรุป ในปัจจุบันสแตนเลสในท้องตลาดโยทั่วไป มีจำหน่ายอยู่หลายเกรด แต่ละเกรดก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ความต้านทานการเกิดสนิมที่แตกต่างกันไป ราคาก็แตกต่างกันไป จะนำไปใช้งานอะไร อยู่ในสภาพแวดล้อมใด และมีการดูแลรักษาอย่างไร ขอยกตัวอย่าง สแตนเลสที่ใช้กับเครื่องครัว มีการนำสแตนเลสทั้งเกรด 304 และ 430 มาใช้ทำเป็นเครื่องครัวเช่นเดียวกัน แต่มีราคาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสแตนเลสเกรด 430 ที่แม่เหล็กดูดติดนั้น หลายๆคนคิดว่าเป็นสแตนเลสเกรดไม่ดี ได้มีการนำมาใช้เป็นช้อนจีนซึ่งบางท่านมีการใช้งานมานานกว่า 20 ปี โดยไม่มีปัญหาในเรื่องสนิม หรือการใช้งานใดๆเลย แน่นอน ราคาต้องถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช้อนจีนในเกรด 304 (หากมีการผลิต)