1.ขนาดและมิติของท่อเหล็กกล้า
(Steel Pipe Size and Dimensions)
เมื่อกล่าวถึงขนาดและมิติของท่อเหล็กกล้า ความหมายในทางปฏิบัติจะครอบคลุมถึงทั้งท่อเหล็กกล้าคาร์บอน(Carbon steel pipe) และท่อเหล็กกล้าผสม (alloy steel pipe) แต่จะไม่ครอบคลุมถึง ท่อเหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel pipe)
มาตรฐานที่กำหนดขนาดและมิติท่อเหล็กกล้ามีดังนี้
มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา
กำหนดขนาดของท่อเหล็กกล้าด้วยมาตรฐาน ASME B 36.10 โดยระบุขนาดท่อด้วยค่า Nominal
Pipe Size (NPS) ซึ่งมีข้อสังเกตคือ ท่อขนาดตั้งแต่ 14 นิ้วขึ้นไป NPS จะมีค่าเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก ส่วนท่อขนาดเล็กกว่า 14 นิ้วนั้น NPS มีค่าไม่เท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของท่อ เช่น ท่อ
NPS 14 เป็นท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 14 นิ้ว ,ท่อ NPS 4 เป็นท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 4.5 นิ้ว เป็นต้น
ASME B 36.10 ครอบคลุมขนาดท่อเหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon steel pipe)และท่อเหล็กกล้าผสม
(alloy steel pipe)แต่ไม่ครอบคลุมขนาดของท่อเหล็กกล้าไร้สนิม(stainless steel pipe)
ASME B 36.10 กำหนดค่าความหนาของผนังท่อไว้หลายๆค่า เพื่อให้เลือกใช้งานได้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท
ความหนาของผนังท่อถูกกำหนดไว้ดังนี้
-กำหนดด้วย Schedule numbers (Sch.)
Schedule Numbers ที่ถูกกำหนดไว้คือ Sch. 50 , 10 , 20 , 30 , 40 , 60 , 80 , 100 , 120 140 และ 160
โดยความหนาของผนังท่อจะมากขึ้นตามค่า Schedule Numbers ที่สูงขึ้น ท่อต่างขนาดกันที่มี Schedule Numbers เดียวกัน ส่วนใหญ่จะมีความหนาแตกต่างกัน โดยท่อขนาดใหญ่กว่ามักจะมีความหนามากกว่า
-กำหนดด้วย Weight Class
มาตรฐานความหนาผนังท่อที่ถูกกำหนดขึ้นในยุคที่ใช้ระบุ Iron Pipe Size (IPS)ซึ่งยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน ความหนาของผนังท่อถูกกำหนดไว้ Class คือ Standard (STD), Extra Strong (XS) และ
Double Extra Strong (XXS)

มาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดขนาดของท่อเหล็กกล้าด้วยค่า Nominal Diameter (ND) ตามมาตรฐาน JIS
ซึ่งได้แยกวิธีการเรียกท่อเป็นมิลลิเมตรและเป็นนิ้ว โดยใช้อักษร “A” ต่อท้ายขนาดท่อที่ระบุเป็นมิลลิเมตร
และใช้อักษร “B” ต่อท้ายท่อที่ระบุเป็นนิ้ว ตัวอย่างเช่น ท่อ “ND 100A” หรือท่อ “ND 4B” เป็นชื่อเรียกท่อ
ขนาดเดียวกันคือท่อมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 114.3 mm. ส่วนความหนาของผนังท่อถูกกำหนดไว้ด้วย
Schedule Numbers 50 , 10 , 20 , 30 , 40 , 60 , 80 , 100 , 120 140 และ 160 มาตรฐานขนาดท่อเหล็กกล้าที่ใช้งานอย่างกว้างขวาง ได้แก่ JIS G 3452, G 3454, G 3455, G 3456, G 3458, G 3456
เป็นที่น่าสังเกตว่ามาตรฐาน ASME และ JIS กำหนดขนาดและความหนาของท่อเทียบเท่ากัน แต่ขนาดและความหนาของท่อที่เทียบเท่ากันนั้นมีค่าแตกต่างกันอยู่บ้าง ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องใช้งานท่อของทั้งสองมาตรฐานร่วมกัน จะต้องระมัดระวังความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากความแตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการประกอบท่อด้วยหน้าแปลน (Flange connection)

ตารางเปรียบเทียบการระบุขนาดท่อเหล็กกล้าของมาตรฐานต่างๆ
ประเทศ ชื่อมาตรฐาน ขนาดท่อ ความหนาท่อ
สหรัฐอเมริกา ASME B 36.10 NPS Sch. และ Weight Class
ญี่ปุ่น JIS G 3456 และอื่นๆ ND (A B) Sch. และมิลลิเมตร
นานชาติ ISO DN –

ความยาวของท่อไม่มีมาตรฐานกำหนดตายตัว ส่วนใหญ่จะผลิตความยาวต่อท่อน 6 เมตร หรือ 12 เมตรซึ่งปลายท่ออาจเป็นแบบปลายบาก (beveled end) ปลายตัด (plain end) ปลายเกลียว (thread end)

2.ขนาดและมิติของท่อเหล็กกล้าไร้สนิม
(Stainless Steel Pipe Size and Dimensions)
มาตรฐานสหรัฐอเมริกา
มาตรฐาน ASME B 36.19 กำหนดขนาดและมิติของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยค่า Nominal Pipe Size (NPS) เช่นเดียวกับท่อเหล็กกล้า ส่วนความหนาของผนังท่อถูกกำหนดไว้คือ Sch. 5S,10S,30S,40S,
60S, และ 80S ซึ่งตัวอักษร S ถูกกำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นที่จะใช้เป็นตัวอักษรย่อของ Stainless อย่างไรก็ตามภายหลังถูกนำมาใช้ในการระบุความหนาของท่อที่ทำจากวัสดุอื่นด้วย
มาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น
มาตรฐาน JIS G 3459 ได้กำหนดขนาดและมิติของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยค่า Nominal Diameter(ND) เช่นเดียวกับท่อเหล็กกล้า ส่วนความหนาของผนังท่อถูกกำหนดไว้คือ Sch. 5S, 10S,
20S, 40, 80, 120 และ 160

หากมีความจำเป็นต้องใช้งานท่อมาตรฐาน ASME และ JIS ร่วมกัน จะต้องระมัดระวังความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากความแตกต่างของสองมาตรฐาน